Test Kit Products
วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบโคลิฟอร์ม
ชุดทดสอบโคลิฟอร์ม
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 300-22,000 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 24 ชั่วโมง
การนำไปใช้ : ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งธรรมชาติ เช่น น้ำบาดาล น้ำคลอง น้ำบ่อ
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภค
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 2.2 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด <2.2 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 0 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 5,000-20,111 MPM ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร ขึ้นกับ ประเภทของแหล่งน้ำ (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของโคลิฟอร์มในน้ำ
โคลิฟอร์มทั้งหมดเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ใช้ชี้วัดความปนเปื้อนของแหล่งน้ำเป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในอุจจาระของคน และสัตว์เลือดอุ่นทั่วไป
ชุดทดสอบปรอท
ชุดทดสอบปรอท
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 5-500 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 20 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนที่ปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.002 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 61 พ.ศ.2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.001 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 0.001 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 0.002 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของปรอทในน้ำ
ปรอทเป็นโลหะที่ระเหยเป็นไอได้ง่ายและมีพิษต่อมนุษย์มาก ไอปรอทสามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ดี สารปรอทเป็นสาเหตุของโรคมินามาตะ อาการะ คออักเสบ ลำไส้อักเสบ อาเจียน ไตอักเสบ ตับอักเสบ ถ้าสะสมในร่างกายปริมาณมากจะทำลายตับและระบบประสาททำให้หงุดหงิด ขี้อาย ตัวสั่น มีความถดถอยในส่วนของการได้ยิน การมองและความจำ นอกจากนั้นยังสามารถสะสมอยู่ในตัวปลาได้
ชุดทดสอบสารหนู III
ชุดทดสอบสารหนู III
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 5-500 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 20 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 20 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท
- ยังไม่มีการกำหนด
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- ยังไม่มีการกำหนด
ที่มาและผลกระทบของสารหนูในน้ำ
สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะที่พบทั่วไปในธรรมชาติทั้งในดิน น้ำ ตะกอนดินท้องทะเลและในทะเล สารหนูทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง เป็นสาเหตุของโรคไข้ดำ หากบริโภคน้ำหรืออาหารที่มีสารหนูเจือปนจะมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้สารหนูยังสามารถสะสมอยู่ในสัตว์น้ำ นก และสัตว์บกด้วย ในปริมาณที่เท่ากันสารหนู III จะมีความเป็นพิษรุนแรงกว่าสารหนูหรือสารหนู (V)
ชุดทดสอบสารหนู
ชุดทดสอบสารหนู
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 5-500 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 20 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 10 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบ
สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะที่พบทั่วไปในธรรมชาติทั้งในดิน น้ำ ตะกอนดินท้องทะเลและในทะเล สารหนูทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งเป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง เป็นสาเหตุของโรคไข้ดำ หากบริโภคน้ำหรืออาหารที่มีสารหนูเจือปนจะมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้ สารหนูยังสามารถสะสมอยู่ในตัวสัตว์น้ำ นก และสัตว์บกด้วย
ชุดทดสอบตะกั่ว
ชุดทดสอบตะกั่ว
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 40-200 หรือ 20-100 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 20 หรือ 40 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 2 นาที
การนำไปใช้ : ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำธรรมชาติ
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO,2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของตะกั่วในน้ำ
ตะกั่วเป็นโลหะที่มีการปนเปื้อนลงในสิ่งแวดล้อมอย่างมากทั้งในดิน น้ำ และอากาศ ตะกั่ว สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงได้ดี และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งและความพิการของทารกในครรภ์มารดา อาการเมื่อได้รับสารตะกั่ว คือ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม สมาธิสั้น
ในเด็กจะทำให้สติปัญญาต่ำ เจริญเติบโตช้าและหูตึง นอกจากนี้ตะกั่วยังสามารถสะสมอยู่ในตัวปลาได้
วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบแมงกานีส
ชุดทดสอบแมงกานีส
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.25-6 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 5 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 5 นาที
การนำไปใช้ : ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำธรรมชาติ
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO,2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบ
แมงกานีสเป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและช่วยในระบบการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายโดยต้องการในปริมาณน้อยๆ ถ้าพบปริมาณมากในแหล่งน้ำมักเกิดจากการทิ้งของเสียอุตสาหกรรมลงไป หากร่างกายได้รับแมงกานีสมากเกินไปจะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะปรากฎอาการทางด้านจิตใจ เช่น ประสาทหลอน พฤติกรรมแปรปรวน เมื่อได้รับสารติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดจาวกวน ปวดหัว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)