ชุดทดสอบตะกั่ว
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 40-200 หรือ 20-100 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 20 หรือ 40 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 2 นาที
การนำไปใช้ : ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำธรรมชาติ
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO,2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของตะกั่วในน้ำ
ตะกั่วเป็นโลหะที่มีการปนเปื้อนลงในสิ่งแวดล้อมอย่างมากทั้งในดิน น้ำ และอากาศ ตะกั่ว สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงได้ดี และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งและความพิการของทารกในครรภ์มารดา อาการเมื่อได้รับสารตะกั่ว คือ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม สมาธิสั้น
ในเด็กจะทำให้สติปัญญาต่ำ เจริญเติบโตช้าและหูตึง นอกจากนี้ตะกั่วยังสามารถสะสมอยู่ในตัวปลาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น