ชุดทดสอบปรอท
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 5-500 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 20 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนที่ปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.002 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 61 พ.ศ.2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.001 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 0.001 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 0.002 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของปรอทในน้ำ
ปรอทเป็นโลหะที่ระเหยเป็นไอได้ง่ายและมีพิษต่อมนุษย์มาก ไอปรอทสามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ดี สารปรอทเป็นสาเหตุของโรคมินามาตะ อาการะ คออักเสบ ลำไส้อักเสบ อาเจียน ไตอักเสบ ตับอักเสบ ถ้าสะสมในร่างกายปริมาณมากจะทำลายตับและระบบประสาททำให้หงุดหงิด ขี้อาย ตัวสั่น มีความถดถอยในส่วนของการได้ยิน การมองและความจำ นอกจากนั้นยังสามารถสะสมอยู่ในตัวปลาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น