วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

ชุดทดสอบโคลิฟอร์ม

ชุดทดสอบโคลิฟอร์ม

คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 300-22,000 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 24 ชั่วโมง

การนำไปใช้ : ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งธรรมชาติ เช่น น้ำบาดาล น้ำคลอง น้ำบ่อ

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภค 
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 2.2 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด <2.2 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
  • ค่ามาตรฐาน 0 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
  • 5,000-20,111 MPM ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร ขึ้นกับ ประเภทของแหล่งน้ำ (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของโคลิฟอร์มในน้ำ
          โคลิฟอร์มทั้งหมดเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ใช้ชี้วัดความปนเปื้อนของแหล่งน้ำเป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในอุจจาระของคน และสัตว์เลือดอุ่นทั่วไป




ชุดทดสอบปรอท

ชุดทดสอบปรอท


คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 5-500 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 20 นาที

การนำไปใช้
          ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล  กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนที่ปิดสนิท
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.002 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 61 พ.ศ.2524)
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.001 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
  • ค่ามาตรฐาน 0.001 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
  • 0.002 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของปรอทในน้ำ
          ปรอทเป็นโลหะที่ระเหยเป็นไอได้ง่ายและมีพิษต่อมนุษย์มาก ไอปรอทสามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ดี สารปรอทเป็นสาเหตุของโรคมินามาตะ อาการะ คออักเสบ ลำไส้อักเสบ อาเจียน ไตอักเสบ ตับอักเสบ ถ้าสะสมในร่างกายปริมาณมากจะทำลายตับและระบบประสาททำให้หงุดหงิด ขี้อาย ตัวสั่น มีความถดถอยในส่วนของการได้ยิน การมองและความจำ นอกจากนั้นยังสามารถสะสมอยู่ในตัวปลาได้



ชุดทดสอบสารหนู III

ชุดทดสอบสารหนู III


คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 5-500 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 20 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 20 นาที

การนำไปใช้ 
          ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องศึกษาความเหมาะสมก่อน

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท 
  • ยังไม่มีการกำหนด
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
  • ยังไม่มีการกำหนด
ที่มาและผลกระทบของสารหนูในน้ำ
          สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะที่พบทั่วไปในธรรมชาติทั้งในดิน น้ำ ตะกอนดินท้องทะเลและในทะเล สารหนูทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง เป็นสาเหตุของโรคไข้ดำ หากบริโภคน้ำหรืออาหารที่มีสารหนูเจือปนจะมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้สารหนูยังสามารถสะสมอยู่ในสัตว์น้ำ นก และสัตว์บกด้วย ในปริมาณที่เท่ากันสารหนู III จะมีความเป็นพิษรุนแรงกว่าสารหนูหรือสารหนู (V)


ชุดทดสอบสารหนู

ชุดทดสอบสารหนู


คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 5-500 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 20 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 10 นาที

การนำไปใช้ 
          ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องศึกษาความเหมาะสมก่อน

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
  • ค่ามาตรฐาน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
  • 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบ
          สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะที่พบทั่วไปในธรรมชาติทั้งในดิน น้ำ ตะกอนดินท้องทะเลและในทะเล สารหนูทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งเป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง เป็นสาเหตุของโรคไข้ดำ หากบริโภคน้ำหรืออาหารที่มีสารหนูเจือปนจะมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้ สารหนูยังสามารถสะสมอยู่ในตัวสัตว์น้ำ นก และสัตว์บกด้วย



ชุดทดสอบตะกั่ว

ชุดทดสอบตะกั่ว


คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 40-200 หรือ 20-100 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 20 หรือ 40 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 2 นาที

การนำไปใช้ : ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำธรรมชาติ

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
  • ค่ามาตรฐาน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO,2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน 
  • 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของตะกั่วในน้ำ
          ตะกั่วเป็นโลหะที่มีการปนเปื้อนลงในสิ่งแวดล้อมอย่างมากทั้งในดิน น้ำ และอากาศ ตะกั่ว สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงได้ดี และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งและความพิการของทารกในครรภ์มารดา อาการเมื่อได้รับสารตะกั่ว คือ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม สมาธิสั้น
ในเด็กจะทำให้สติปัญญาต่ำ เจริญเติบโตช้าและหูตึง นอกจากนี้ตะกั่วยังสามารถสะสมอยู่ในตัวปลาได้





วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ชุดทดสอบแมงกานีส

ชุดทดสอบแมงกานีส


คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.25-6 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 5 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 5 นาที
การนำไปใช้ : ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำธรรมชาติ

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
  • ค่ามาตรฐาน 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO,2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน 
  •  1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบ
          แมงกานีสเป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและช่วยในระบบการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายโดยต้องการในปริมาณน้อยๆ ถ้าพบปริมาณมากในแหล่งน้ำมักเกิดจากการทิ้งของเสียอุตสาหกรรมลงไป หากร่างกายได้รับแมงกานีสมากเกินไปจะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะปรากฎอาการทางด้านจิตใจ เช่น ประสาทหลอน พฤติกรรมแปรปรวน เมื่อได้รับสารติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดจาวกวน ปวดหัว

ชุดทดสอบเหล็ก

ชุดทดสอบเหล็ก


คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.1-4 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 5 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 10 นาที

การนำไปใช้ : ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของน้ำในแหล่งต่างๆ

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท 
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
  • ยังไม่มีการกำหนด (WHO,2003)
ที่มาและผลกระทบของเหล็กในน้ำ
          เหล็กเป็นโลหะที่พบได้ในธรรมชาติ ทั้งในน้ำธรรมชาติและในดิน เหล็กที่ละลายอยู่ในแหล่งน้ำมากๆ อาจมีสาเหตุจากกากของเสียอุตสาหกรรม เหล็กเป็นส่วนประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคกำหนดค่าไว้ตั้งมากอยู่แล้ว จึงไม่มีรายงานการเจ็บป่วยจากการบริโภคน้ำที่มีเหล็กมากเกินไป นอกจากนี้น้ำที่มีโลหะเหล็กปนเปื้อนสูงจะมีกลิ่นและสีแดง ทำให้คนทั่วไปหลีกเลี่ยงการบริโภค ความสีแดงของเหล็กยังสามารถติดตามภาชนะที่บรรจุน้ำและท่อน้ำได้ จึงควรตรวจสอบและทำความสะอาดอยู่เสมอ



ชุดทดสอบแอมโมเนีย

ชุดทดสอบแอมโมเนีย


คุณลักษณะของชุดทดสอบแอมโมเนีย
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.5-6.0 หรือ 1-12 หรือ 5-60 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 20 นาที

การนำไปใช้
          ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล หรือ น้ำที่มีการปนเปื้อนของแอมโมเนีย กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องศึกษาความเหมาะสมก่อน

มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
          0.5 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8,2537)

มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
          ไม่เกิน 1.1 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8,2537)

ที่มาและผลกระทบของแอมโมเนียในน้ำ
          ระดับน้ำปริมาณแอมโมเนียในน้ำขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง และความกระด้างของน้ำหากแอมโมเนียมีความเข้มข้นสูงถึงปริมาณหนึ่งจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้ โดยทำให้เกิดความเครียดและเป็นพิษต่อปลา ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของปลาด้วยเช่นกันโดยจะทำให้ปลามีจุดสีน้ำตาลตามลำตัว

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

ชุดทดสอบฟลูออไรด์

ชุดทดสอบฟลูออไรด์


คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.2-3 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 2 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 10 นาที

การนำไปใช้
           ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521) 
  • ค่ามาตรฐาน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO, 2003)
ที่มาและผลกระทบของฟลูออไรด์ในน้ำ
          ฟลูออไรด์เป็นธาตุที่มีทั้งผลดีและผลเสียต่อสุขภาพ ถ้ามีปริมาณน้อยในแหล่งน้ำจะช่วยป้องกันอาการฟันผุ
  

ชุดทดสอบฟอสเฟต

ชุดทดสอบฟอสเฟต


คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.025-3 พีพีเอ็มฟอสฟอรัส (มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 1 นาที

การนำไปใช้
          ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท : ยังไม่มีการกำหนด
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน : ยังไม่มีการกำหนด

ที่มาและผลกระทบของฟอสเฟตในน้ำ
          ฟอสเฟตเป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ เช่นเดียวกับไนเตรทถ้ามีปริมาณมากจะส่งผลต่อระบบสิ่งแวดล้อม ทำให้วัชพืชน้ำเติบโตเร็ว และช่วยในการเจริญเติบโตของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินซึ่งหากบริโภคน้ำที่มีสาหร่ายเหล่านี้จะมีผลเสียต่อสุขภาพ ส่วนมากจะมาจากการปล่อยน้ำเสีย น้ำซักล้างลงแหล่งน้ำ ในแม่น้ำโดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ในช่วง 0.01-0.1 พีพีเอ็มฟอสฟอรัส (มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร)


วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ชุดทดสอบไนไตรท์

ชุดทดสอบไนไตรท์


คุณลักษณะของชุดทดสอบไนไตรท์
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.01-2.0 พีพีเอ็มไนโตรเจน (มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 1 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 1 นาที

การนำไปใช้
          ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของไนไตรท์ กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องศึกษาความเหมาะสมก่อน

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
          ค่ามาตรฐาน 3 มิลลิกรัมไนไตรท์ต่อลิตร สำหรับการบริโภคในระยะสั้น ค่ามาตรฐาน 0.2 มิลลิกรัมไนไตรท์ต่อลิตร สำหรับการบริโภคในระยะยาว (WHO,2003)

ที่มาและผลกระทบของไนไตรท์ในน้ำ
          ในแหล่งน้ำธรรมชาติมักจะมีไนไตรท์ในปริมาณที่ต่ำอยู่แล้วผลกระทบโดยทั่วไปมักจะคิดเป็นปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่มาจากทั้งแอมโมเนีย ไนเตรทและไนไตรท์ เนื่องจากไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของโปรตีนจึงไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ไนไตรท์สามารถยับยั้งการขนถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายทำให้หายใจขัดและผิวหนังมีจ้ำสีน้ำเงิน

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ชุดทดสอบไนเตรท

ชุดทดสอบไนเตรท


คุณลักษณะของชุดทดสอบ

ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.5-50 พีพีเอ็ม ไนโตรเจน (มิลลิกรัมไนโตรเจน/ลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 2.5 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 2-3 นาที
การนำไปใช้ : ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้
                    กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน 

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท 

  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 4.0 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)

  • เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 45 มิลลิกรัมไนเตรทต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2521)

  • ค่ามาตรฐาน 50 มิลลิกรัมไนเตรทต่อลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน

  • 5.0 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8,2537)
ที่มาและผลกระทบของไนเตรทในน้ำ
          ไนเตรทเป็นองค์ประกอบหลักของปุ๋ย ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ถ้ามีปริมาณมากในแหล่งน้ำจะทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตมากเกินไป และส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำลดลง


ชุดทดสอบซัลไฟด์

ชุดทดสอบซัลไฟด์


คุณลักษณะของชุดทดสอบซัลไฟด์
ช่วงที่ใช้ทดสอบ                              50-1,000 พีพีบี (ไมโครกรัม/ลิตร)  
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง                         20 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ                         10 นาที
การนำไปใช้                                 ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของน้ำในแหล่งต่าง ๆ
                                                    และน้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์ 

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท : ยังไม่มีกำหนด
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน : ยังไม่มีกำหนด

ที่มาและผลกระทบของซัลไฟด์ในน้ำ
          ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นตัวบ่งชี้ถึงความเน่าเสียของน้ำ มีกลิ่นเหม็น ควันแก๊สไข่เน่า เกิดจากการย่อยสลายของแบคทีเรีย และการปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีผลเสียต่อสุขภาพเพราะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและคลื่นไส้ เราจะได้กลิ่น เมื่อมีความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์ ตั้งแต่ 0.05-0.1 พีพีเอ็ม ขึ้นไป                  




วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ชุดทดสอบออกซิเจนละลายในน้ำ

ชุดทดสอบออกซิเจนละลายในน้ำ (Dissolved Oxygen Test kit)


คุณลักษณะของชุดทดสอบออกซิเจนละลาย

ช่วงที่ใช้ทดสอบ         1-8 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
ปริมาณน้ำตัวอย่าง      20 มิลลิลิตร 
เวลาในการทดสอบ     1 นาที
การนำไปใช้               ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน : 2-6 มิลลิกรัมต่อลิตร ขึ้นกับประเภทของแหล่งน้ำ (ประกาศ
                                                  คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8,2537)

          ดัชนี                                         เกณฑ์อนุโลมให้ต่ำสุด (mg/l)
แหล่งน้ำอยู่ในภาวะย่ำแย่                         < 5-6
ภายใน 1-4 วัน จะทำให้สัตว์น้ำตาย               < 2

          สำหรับสัตว์น้ำ
ปลาน้ำอุ่น                                                   5.0
ปลาน้ำเย็น                                                  6.0
ฤดูวางไข่                                                    7.0
สิ่งมีชีวิตปากแม่น้ำ,ปากอ่าว                             5.0 

ที่มาและผลกระทบของออกซิเจนละลายในน้ำ : ออกซิเจนละลายเป็นค่าที่บอกถึงปริมาณออกซิเจน ที่ละลายอยู่ในน้ำ เป็นดัชนีโดยตรงที่บอกคุณภาพของน้ำ เพราะออกซิเจนมีความจำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต



ชุดทดสอบความเป็นกรด-ด่าง

ชุดทดสอบความเป็นกรด-ด่าง (pH Test kit)


คุณลักษณะของชุดทดสอบความเป็นกรด-ด่าง

ช่วงที่ใช้ทดสอบ               pH 3.0-9.0
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง          0.5 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ          30 วินาที
การนำไปใช้                   ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ  (น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล)

มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท : เกณฑ์อนุโลมสูงสุด pH 6.5-8.5 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524) เกณฑ์อนุโลมสูงสุด pH ไม่เกิน 9.2 (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521) ค่ามาตรฐาน pH 6.5-9.5 (WHO,2003)

มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน :  pH 5-9 (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
                                                  ฉบับที่ 8,2537)

ที่มาและผลกระทบของค่าความเป็นกรด-ด่างในน้ำ : น้ำธรรมชาติปกติมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 6.5-7.5 ส่วนน้ำทิ้งมักมีความเป็นกรดน้อยกว่าหรือมากกว่า ค่า pH มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต จึงต้องควบคุมให้คงที่หรือควบคุมให้อยู่ในช่วงที่กำหนด



วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

หยดทิพย์ ปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค ว 101

หยดทิพย์หรือคลอรีน 2%  ปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค ว 101/อ 32


ประกอบด้วย : คลอรีน 2%
คุณสมบัติ : ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
วิธีใช้ : ใช้หลอดหยดดูดสารละลายหยดทิพย์ แล้วหยดใส่น้ำที่ต้องการฆ่าเชื้อโรค ในอัตราส่วน
            หยดทิพย์ 1 หยด ต่อ น้ำ 1 ลิตร

หมายเหตุ : การหยดสารละลายหยดทิพย์ในน้ำที่ต้องการฆ่าเชื้อโรค น้ำต้องไม่มีความขุ่น
                  ถ้าน้ำที่ต้องการฆ่าเชื้อโรคมีความขุ่น ต้องตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนหรือกรองแล้ว นำ 
                  เฉพาะส่วนใสมาฆ่าเชื้อโรคด้วยหยดทิพย์
                  หลอดหยด หลังใช้งานแล้วต้องทำให้สะอาดก่อนเก็บใส่ถุง
                  สามารถตรวจค่าคลอรีนอิสระคงเหลือด้วยชุด ว 720 หลังใส่หยดทิพย์แล้วประมาณ 30 นาที


ชุดตรวจเชื้อแบคทีเรีย ว 810/อ 12 (ซัลโมเนลลา)

ชุดตรวจเชื้อแบคทีเรีย ว 810/อ 12 (ซัลโมเนลลา) ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภคโดยชุมชน



          แบคทีเรียหลายชนิด เช่น ซิโทรแบคเทอร์ (Citrobacter) ซัลโมเนลลา (Salmonella) อริโซนา (Arizona) และโปรเตียส (Proteus) สามารถผลิตแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ได้ในอาหารและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม แบคทีเรียเหล่านี้มักพบได้ในน้ำเสียและเป็นสาเหตุของการก่อโรคระบบทางเดินอาหาร ทั้งในคนและสัตว์ ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดคุณภาพนน้ำบริโภคต้องไม่พลเชื้อโรคที่อาจเป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
          อาหารตรวจเชื้อแบคทีเรีย ว 810  (อาหารถูกดูดซับอยู่ในม้วนสำลี) ซึ่งคิดค้นและผลิตโดยกรมอนามัยและสามารถดำเนินการตรวจสอบโดยประชาชนทั่วไปด้วยวิธีการปลอดเชื้อที่เหมาะสม เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภคก่อนนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัย การตรวจสอบด้วยอาหารตรวจเชื้อ ว 810 เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติ โดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของอาหารตรวจเชื้อ ว 810 จากสีเหลืองอ่อนใสเป็นสีดำ มีตะกอนดำเกิดขึ้นพร้อมมีฟองแก๊สปุดขึ้นเมื่อเขย่าเบาๆ และมีกลิ่นแก๊สไข่เน่า
          จากการศึกษาวิจัยพบว่า การตรวจสอบด้วยอาหารตรวจเชื้อ ว 810 ตามขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบที่ถูกต้องหรือตามขั้นตอนคู่มือแสดงการตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภคทางแบคทีเรียด้วยอาหารตรวจเชื้อ ว 810 พบว่ามีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี Multiple-Tube Fermentation Technique ไม่น้อยกว่า 85.2%

ประโยชน์ของชุดตรวจเชื้อแบคทีเรีย ว 810
          ใช้ตรวจเชื้อแบคทีเรียที่ผลิตแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ในอาหารที่เหมาะสม เช่น ซิโทรแบคเทอร์ ซัลโมเนลลา อริโซนาและโปรเตียสที่ปนเปื้อนในน้ำบริโภค น้ำแข็ง อาหารและสุขลักษณะของห้องส้วม เพื่อการเฝ้าระวังเชื้อโรค

จำนวนตัวอย่าง/ชุด : 20 ตัวอย่าง
การเก็บรักษาและอายุการใช้งาน
          * ถ้าเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 ถึง 10 องศา จะมีอายุการใช้งานประมาณ 12 เดือน หลังการผลิต
          * ถ้าเก็บในกล่องบรรจุที่แห้งและที่อุณหภูมิห้องจะมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน หลังการผลิต

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ชุดทดสอบตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย อ 11 /ว 111

ชุดทดสอบตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย อ 11/ว 111 ตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภคโดยประชาชน
Simplified Technique for Field Detection of Coliform Bacteria in Drinking Water Using
          ตามเกณฑ์เสนอแนะขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดคุณภาพน้ำบริโภคต้องไม่พบโคลิฟอร์มแบคทีเรียเนื่องจากแบคทีเรีย ดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ถึงการปนเปื้อนของแบคทีเรียที่อาจเป็ฯสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

          ดังนั้นทางกรมอนามัยได้มีชุดทดสอบสำหรับให้ประชาชนทั่วไปได้ทำการตรวจสอบได้เอง เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภคด้วยวิธีการที่เหมาะสมก่อนนำมาบริโภค โดยชุดทดสอบที่เป็นวิธีที่ง่าย และ สะดวกในการปฏิบัติโดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของชุดทดสอบ

 
          จากการศึกษาพบว่าชุดทดสอบนี้ มีความน่าเชื่อถือ โดยสอดคล้องกับการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี Multiple-Tube Fermentation Technique ไม่น้อยกว่า 84.5%

จำนวนชุดทดสอบ : 20 ตัวอย่าง

ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ ว 720/อ 31

ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ ว 720/อ 31
          น้ำมีความสำคัญต่อชีวิตคนควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 2.5 ลิตร ซึ่งการทำให้น้ำสะอาด ปราศจากเชื้อโรคสามารถใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค สามารถใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำ การเติมคลอรีนในน้ำดื่มเพื่อฆ่าเชื้อโรค ต้องเติมในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อโรค และไม่มีกลิ่นฉุน เพื่อการยอมรับของผู้บริโภค


          การทดสอบปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำสามารถใช้ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำสามารถใช้ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ (ว720) ซึ่งคิดค้นรูปแบบโดยกรมอนามัน เป็นวิธีการทดสอบที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว โดยการอ่านค่าของคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ จากการเปรียบเทียบสีกับสีมาตรฐานของชุด ว 720 ซึ่งอาศัยการเกิดสีของคลอรีนอิสระคงเหลือตามวิธีมาตรฐานของ Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, 12th ed.

          จากการศึกษาวิจัยพบว่า การทดสอบคลอรีน อิสระคงเหลือในน้ำด้วยชุด ว720 ตามขั้นตอนและวิธีการทดสอบที่ถูกต้องมีความน่าเชื่อถือซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) 0.9786

จำนวนต้วอย่าง/ชุด : 50 ต้วอย่าง
ช่วงการตรวจสอบ : 3 ระดับความเข้มข้นใน 1 ชุดได้แก่ 0.2, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
อายุและการเก็บรักษา : 1 ปี เก็บในอุณหภูมิห้อง ไม่โดนแสงแดด

ชุดตรวจสอบอาหารตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

SI-Medium ชุดตรวจสอบอาหารตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI2/อ 13
การตรวจสอบการปนเปื้อนภาชนะสัมผัสอาหาร มือผู้สัมผัสอาหารและอาหาร


           ภาชนะใส่อาหาร เขียง จาน ภาชนะสัมผัสอาหาร เช่น ช้อน ส้อม ตะเกียบ ถ้วยน้ำ อาหาร และมือผู้สัมผัสอาหาร ถ้ามีเชื้อโรคปะปนอยู่จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารหรือ โรคอาหารเป็นพิษ การตรวจสอบการปนเปื้อนดังกล่าวโดยชุดตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-Medium ทางภาคสนามที่คิดค้นโดยกรมอนามัย เป็นชุดตรวจสอบอย่างง่ายต่อการปฏิบัติสามารถทราบผลได้ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง


ประโยชน์ของชุดตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-Medium
          ใช้ตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนในภาชนะสัมผัสอาหาร มือผู้สัมผัสอาหาร และอาหารโดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของอาหารตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย Simedium จากสีม่วงเป็นสีอื่นเช่น สีม่วงปนเหลือง สีเหลือง มีความขุ่นและมีฟองแก๊สปุดขึ้นเมื่อเขย่าเบา ๆ และมีกลิ่นเหม็นบูด ใช้ตรวจสอบเพื่อการเฝ้าระวังและลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

จำนวนตัวอย่าง : 20 ตัวอย่าง / ชุด
การเก็บรักษาและอายุการใช้งาน
         -      ถ้าเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 ถึง 10 องศาเซลเซียส จะมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน
         -      ถ้าเก็บในกล่องบรรจุที่แห้งและที่อุณหภูมิห้องจะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 เดือน



ชุดตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค (ว 314)

ชุดตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ว 314/อ 35



          น้ำที่สะอาดมีความสำคัญต่อชีวิต แต่น้ำที่มีปริมาณฟลูออไรด์เกินมาตรฐานและบริโภคเป็นประจำ จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย เพราะการได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปและสะสมในระยะเวลานานจะทำให้เกิดโรคฟลูออโรซิสได้แก่ฟันตกกระและกระดูกโค้งงอผิดปกติ ปัจจุบันตรวจพบพื้นที่หลายแห่งพบการปนเปื้อนฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคที่มาจากน้ำใต้ดินในระดับที่สูงขึ้น กรมอนามัยจึงคิดค้นและผลิตชุดตรวจสอบความเข้มข้นฟลูออไรด์ทางภาคสนาม


ประโยชน์ของชุดตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค (ว 314)
          ใช้ตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ซึ่งให้ผลในทันทีสามารถดำเนินการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่และชุมชนในท้องถิ่น มีวิธีการตรวจสอบง่าย สะดวก มีความถูกต้องน่าเชื่อถือและราคาประหยัด ตรวจสอบโดยการอ่านค่าของปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำจากการเปรียบเทียบสีกับมาตรฐานของชุดตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคทางภาคสนาม (ว 314)

          จากการศึกษาวิจัย พบว่าการตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคด้วยชุด ว 314 ตามขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบที่ถูกต้องมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) 0.8913

ตัวอย่างเป้าหมาย : น้ำบริโภค
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้ / ชุด : 50 ตัวอย่าง
ช่วงการตรวจสอบ : 4 ระดับความเข้มข้น ได้แก่ 0.0, 0.2, 0.7 และ 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร







ชุดตรวจสอบค่าออกซิเจนละลายในน้ำ

ชุดตรวจสอบค่าออกซิเจนละลายในน้ำโดยชุมชน DO ว 312/อ 33


          ปริมาณค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำการตรวจค่าออกซิเจนละลา
ในน้ำ (Dissolved oxygen = DO) สามารถตรวจได้หลายวิธี การตรวจโดยใช้ชุด ว312 เป็นวิธีประยุกต์ที่ประชาชนในชุมชนสามารถนำไปใช้ได้ง่าย ตามหลักการของเอไซด์โมดิฟิเคชั่น โดยการเติมแมงกานีสซัลเฟต อัลคาไลด์ไอโอไดด์เอไซด์ และ กรดซัลฟูริกจากหลอดที่เตรียมให้ตามชนิดและปริมาตรที่กำหนดลงในน้ำตัวอย่างตามขั้นตอนแล้วไทเทรตด้วยสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟตและตรวจสอบจุดยุติของปฏิกิริยา (end point) ด้วยน้ำแป้ง ปริมาตรของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ไปเป็นค่า DO ของตัวอย่างน้ำ


          จากการศึกษาวิจัยพบว่า การตรวจค่า DO ด้วยชุด ว312 ตามขั้นตอนที่ถูกต้องโดยบุคลากรในภาคสนามพบว่าการตรวจด้งกล่าวให้ความถูกต้องน่าเชื่อถือสอดคล้องกับการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการไม่น้อยว่า 75%

ประโยชน์ของชุดตรวจค่าออกซิเจนละลายในน้ำโดยชุมชน DO-ว 312
          ใช้ตรวจสอบค่าออกซิเจนละลายในน้ำ เพื่อบ่งชี้ถึงคุณภาพของน้ำว่ามีความเหมาะสมเพียงใดต่อ การดำรงฃีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ ซึ่งในแหล่งน้ำสะอาดที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีค่า DO ประมาณ 8 มิลลิกรัม ต่อลิตร สามารถตรวจค่าออกซิเจนได้ทันทีและสมารถตรวจได้ด้วยตนเอง

ตัวอย่างเป้าหมาย : แหล่งน้ำน้ำเสียและน้ำทิ้งผ่านระบบบำบัดก่อนปล่อยทิ้งสู่แหล่งธรรมชาติ
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้ / ชุด : 5 ตัวอย่าง
ช่วงการตรวจสอบ : ตรวจได้ตั้งแต่ไม่พบค่าออกซิเจนละลายถึงไม่มากกว่า 10 มิลลิกรัมต่อลิตร

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ชุดทดสอบค่าของกรดของน้ำมันปรุงอาหาร

ชุดทดสอบค่าของกรดของน้ำมันปรุงอาหาร
Acid Value of Cooking Oil


หลักการ
          น้ำมันปรุงอาหารจะเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างนำมาทอดอาหารหรือเก็บรักษา ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม จะมีผลทำให้น้ำมันปรุงอาหารมีสี กลิ่นรส และความหนืด เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมทั้งเกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ


ผลกระทบต่อสุขภาพ
          การบริโภคน้ำมันปรุงอาหารที่เสื่อมคุณภาพทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมันลดลง และได้รับสารพิษต่าง ๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ


คุณสมบัติของชุดทดสอบ
          ใช้ตรวจสอบค่าของกรดของน้ำมันปรุงอาหารที่มาจากพืชและสัตว์ (คำนวนเป็นค่าของโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม) ใช้เวลาในการทดสอบ 5 นาที ระดับต่ำสุดที่ตรวจสอบได้ 0.2 มิลลิกรัม โปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม


จำนวนตัวอย่าง / ชุด : 15 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 1 ปี
การเก็บรักษา : อุณหภูมิห้อง

ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ

ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ



หลักการ
          น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะเสื่อมสภาพ สี กลิ่น รสชาติ จะเปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังเกิดสารที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น สารโพลาร์ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง หรือสารโพลีไซคลิกอะไรมาติกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้น การใช้น้ำมันที่เสื่อมคุณภาพปรุงอาหารจึงเป็นความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะได้รับอันตราย
          ประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้น้ำมัน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 283 พ.ศ. 2547 กำหนดให้น้ำมันที่ใช้ทอด หรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายมีสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนักหรือไม่เกิน 25%

ประโยชน์ของชุดทดสอบ
          ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันปรุงอาหารนอกห้องปฏิบัติการ ให้ผลรวดเร็วภายใน 2-3 นาที การตรวจวิเคราะห์ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง ซึ่งจะทำให้คุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น

จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้ / ชุด : 25 ตัวอย่าง
ความไวของชุดทดสอบ : ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 5 กรัม / 100 กรัม (5%)

ประสิทธิภาพของชุดทดสอบ
          เปรียบเทียบผลวิเคราะห์ปริมาณสารโพลาร์จากชุดทดสอบเทียบกับวิธีมาตรฐาน IUPAC 2.507 Minicolumn Chromatography ชุดทดสอบให้ความถูกต้อง (accuracy) ร้อยละ 99.2 โดยมีค่าพยากรณ์ปริมาณสารโพลาร์ มากกว่าหรือเท่ากับ 25% ร้อยละ 98.7 ค่าพยากรณ์ปริมาณสารโพลาร์ มากกว่า 25% ร้อยละ 100

ชุดทดสอบปริมาณไอโอดีน ในเกลือบริโภค

ชุดทดสอบปริมาณไอโอดีน ในเกลือบริโภค
Iodine Quantity in Consumed Salt


หลักการ
          ไอโอดีนเป็นสารจำเป็นในการเจริญเติบโตของทางกายและสมอง กำหนดให้เกลือบริโภคมีไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม


ผลกระทบต่อสุขภาพ
          ถ้าร่างกายได้รับไอโอดีนในแต่ละวันไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดความต้านทานต่ำหรืออาจเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคปัญญาอ่อน โรคเอ๋อ ฯลฯ


คุณสมบัติของชุดทดสอบ
          ใช้ตรวจสอบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคที่มีฉลากแสดงการเสริมไอโอดีนด้วยโพแทสเซียมไอโอเดตใช้เวลาในการทดสอบ 10 นาที ระดับต่ำสุดที่สามารถตรวจได้ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม


จำนวนชุด / ตัวอย่าง : 60 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 1 ปี
การเก็บรักษา : อุณหภูมิห้อง (ในห้องทึบแสง)

ชุดทดสอบสีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี

ชุดทดสอบสีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี
Synthetic Color in Food



หลักการ
           ในอาหารบางชนิดมีการเจือสีลงไปเพื่อปกปิดความบกพร่องของวัตถุดิบ ทำให้เข้าใจว่าอาหารชนิดนั้นใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ในกลุ่มอาหารที่ห้ามใช้สี 17 ชนิด


ผลกระทบต่อสุขภาพ
          การบริโภคอาหารที่เจือปนสีสังเคราะห์มากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร เกิดการท้องเสีย หากได้รับประจำจะทำให้น้ำหนักตัวลดร่างกายอ่อนเพลีย

อาหารที่มักตรวจพบ
          ผักและผลไม้ดอง ปลาเค็ม เนื้อหวาน ไก่ย่าง กะปิ ลูกชิ้น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง น้ำพริก บะหมี่ แผ่นเกี๊ยว


คุณสมบัติของชุดทดสอบ
          ใช้ตรวจสีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี เวลาที่ใช้ในการทดสอบ 10 นาที ระดับต่ำสุดที่สามารถตรวจได้ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม


จำนวนชุด / ตัวอย่าง : 10 , 20 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 1 ปี
การเก็บรักษา : อุณหภูมิห้อง

ชุดทดสอบความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหาร และ มือ

ชุดทดสอบความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหาร และ มือ
Cleanliness of food-contact articles and hands


หลักการ
          ภาชนะใส่อาหารและมือผู้สัมผัสอาหารที่ไม่สะอาดมีเชื้อโรคปะปนอยู่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารหรือโรคอาหารเป็นพิษ


ผลกระทบต่อสุขภาพ
          การรับประทานอาหารที่สัมผัสภาชนะและมือที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ ทำให้ผู้บริโภคมีอาการท้องร่วง ท้องเสีย อาเจียน เป็นไข้ ปวดศีรษะ


คุณสมบัติของชุดทดสอบ
          ใช้ตรวจสอบเบื้องต้นว่าภาชนะที่ใช้ใส่อาหารหรือมือผู้สัมผัสอาหาร หรืออาหารมีการปนเปื้อนของเชื้อบักเตรีที่อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดเจ็บป่วยหรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ ทราบผลได้ภายใน 1-3 วัน จำนวนเชื้อโคลิฟอร์มต่ำสุด ที่สามารถตรวจได้ 20 เซลล์


จำนวนตัวอย่าง/ ชุด : 5 , 10 , 20 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 6 เดือน
การเก็บรักษา : เก็บไว้ในตู้เย็น 6 เดือน เก็บที่อุณหภูมิห้อง 2 เดือน

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในอาหาร

ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในอาหาร Coliform in Food


หลักการ
           การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด เป็นสาเหตุของโรคทางเดินอาหาร เชื้อโคลิฟอร์มที่ปนเปื้อน ในอาหารเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าอาหารนั้นไม่สะอาด

ผลกระทบต่อสุขภาพ
          อาหารที่ตรวจพบโคลิฟอร์มในอาหารพร้อมบริโภค ใช้เวลาในการทดสอบ 24 ชั่วโมง ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 10 โคโลนี หรือ 10 ตัว ในอาหาร 1 กรัม


จำนวนตัวอย่าง / ชุด : 5 , 30 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 3 เดือน
การเก็บรักษา : ตู้เย็น