วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบโคลิฟอร์ม
ชุดทดสอบโคลิฟอร์ม
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 300-22,000 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 24 ชั่วโมง
การนำไปใช้ : ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งธรรมชาติ เช่น น้ำบาดาล น้ำคลอง น้ำบ่อ
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภค
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 2.2 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด <2.2 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 0 MPN ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 5,000-20,111 MPM ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร ขึ้นกับ ประเภทของแหล่งน้ำ (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของโคลิฟอร์มในน้ำ
โคลิฟอร์มทั้งหมดเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ใช้ชี้วัดความปนเปื้อนของแหล่งน้ำเป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในอุจจาระของคน และสัตว์เลือดอุ่นทั่วไป
ชุดทดสอบปรอท
ชุดทดสอบปรอท
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 5-500 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 20 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนที่ปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.002 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 61 พ.ศ.2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.001 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 0.001 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 0.002 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของปรอทในน้ำ
ปรอทเป็นโลหะที่ระเหยเป็นไอได้ง่ายและมีพิษต่อมนุษย์มาก ไอปรอทสามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ดี สารปรอทเป็นสาเหตุของโรคมินามาตะ อาการะ คออักเสบ ลำไส้อักเสบ อาเจียน ไตอักเสบ ตับอักเสบ ถ้าสะสมในร่างกายปริมาณมากจะทำลายตับและระบบประสาททำให้หงุดหงิด ขี้อาย ตัวสั่น มีความถดถอยในส่วนของการได้ยิน การมองและความจำ นอกจากนั้นยังสามารถสะสมอยู่ในตัวปลาได้
ชุดทดสอบสารหนู III
ชุดทดสอบสารหนู III
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 5-500 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 20 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 20 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท
- ยังไม่มีการกำหนด
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- ยังไม่มีการกำหนด
ที่มาและผลกระทบของสารหนูในน้ำ
สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะที่พบทั่วไปในธรรมชาติทั้งในดิน น้ำ ตะกอนดินท้องทะเลและในทะเล สารหนูทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง เป็นสาเหตุของโรคไข้ดำ หากบริโภคน้ำหรืออาหารที่มีสารหนูเจือปนจะมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้สารหนูยังสามารถสะสมอยู่ในสัตว์น้ำ นก และสัตว์บกด้วย ในปริมาณที่เท่ากันสารหนู III จะมีความเป็นพิษรุนแรงกว่าสารหนูหรือสารหนู (V)
ชุดทดสอบสารหนู
ชุดทดสอบสารหนู
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 5-500 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 20 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 10 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบ
สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะที่พบทั่วไปในธรรมชาติทั้งในดิน น้ำ ตะกอนดินท้องทะเลและในทะเล สารหนูทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งเป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง เป็นสาเหตุของโรคไข้ดำ หากบริโภคน้ำหรืออาหารที่มีสารหนูเจือปนจะมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้ สารหนูยังสามารถสะสมอยู่ในตัวสัตว์น้ำ นก และสัตว์บกด้วย
ชุดทดสอบตะกั่ว
ชุดทดสอบตะกั่ว
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 40-200 หรือ 20-100 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 20 หรือ 40 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 2 นาที
การนำไปใช้ : ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำธรรมชาติ
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO,2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบของตะกั่วในน้ำ
ตะกั่วเป็นโลหะที่มีการปนเปื้อนลงในสิ่งแวดล้อมอย่างมากทั้งในดิน น้ำ และอากาศ ตะกั่ว สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงได้ดี และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งและความพิการของทารกในครรภ์มารดา อาการเมื่อได้รับสารตะกั่ว คือ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม สมาธิสั้น
ในเด็กจะทำให้สติปัญญาต่ำ เจริญเติบโตช้าและหูตึง นอกจากนี้ตะกั่วยังสามารถสะสมอยู่ในตัวปลาได้
วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบแมงกานีส
ชุดทดสอบแมงกานีส
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.25-6 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 5 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 5 นาที
การนำไปใช้ : ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำธรรมชาติ
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO,2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
- 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 8, 2537)
ที่มาและผลกระทบ
แมงกานีสเป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและช่วยในระบบการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายโดยต้องการในปริมาณน้อยๆ ถ้าพบปริมาณมากในแหล่งน้ำมักเกิดจากการทิ้งของเสียอุตสาหกรรมลงไป หากร่างกายได้รับแมงกานีสมากเกินไปจะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะปรากฎอาการทางด้านจิตใจ เช่น ประสาทหลอน พฤติกรรมแปรปรวน เมื่อได้รับสารติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดจาวกวน ปวดหัว
ชุดทดสอบเหล็ก
ชุดทดสอบเหล็ก
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.1-4 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 5 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 10 นาที
การนำไปใช้ : ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของน้ำในแหล่งต่างๆ
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ยังไม่มีการกำหนด (WHO,2003)
ที่มาและผลกระทบของเหล็กในน้ำ
เหล็กเป็นโลหะที่พบได้ในธรรมชาติ ทั้งในน้ำธรรมชาติและในดิน เหล็กที่ละลายอยู่ในแหล่งน้ำมากๆ อาจมีสาเหตุจากกากของเสียอุตสาหกรรม เหล็กเป็นส่วนประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคกำหนดค่าไว้ตั้งมากอยู่แล้ว จึงไม่มีรายงานการเจ็บป่วยจากการบริโภคน้ำที่มีเหล็กมากเกินไป นอกจากนี้น้ำที่มีโลหะเหล็กปนเปื้อนสูงจะมีกลิ่นและสีแดง ทำให้คนทั่วไปหลีกเลี่ยงการบริโภค ความสีแดงของเหล็กยังสามารถติดตามภาชนะที่บรรจุน้ำและท่อน้ำได้ จึงควรตรวจสอบและทำความสะอาดอยู่เสมอ
ชุดทดสอบแอมโมเนีย
ชุดทดสอบแอมโมเนีย
คุณลักษณะของชุดทดสอบแอมโมเนีย
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.5-6.0 หรือ 1-12 หรือ 5-60 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 20 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล หรือ น้ำที่มีการปนเปื้อนของแอมโมเนีย กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
0.5 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8,2537)
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ไม่เกิน 1.1 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8,2537)
ที่มาและผลกระทบของแอมโมเนียในน้ำ
ระดับน้ำปริมาณแอมโมเนียในน้ำขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง และความกระด้างของน้ำหากแอมโมเนียมีความเข้มข้นสูงถึงปริมาณหนึ่งจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้ โดยทำให้เกิดความเครียดและเป็นพิษต่อปลา ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของปลาด้วยเช่นกันโดยจะทำให้ปลามีจุดสีน้ำตาลตามลำตัว
วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบฟลูออไรด์
ชุดทดสอบฟลูออไรด์
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.2-3 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 2 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 10 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
- เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521)
- ค่ามาตรฐาน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (WHO, 2003)
ที่มาและผลกระทบของฟลูออไรด์ในน้ำ
ฟลูออไรด์เป็นธาตุที่มีทั้งผลดีและผลเสียต่อสุขภาพ ถ้ามีปริมาณน้อยในแหล่งน้ำจะช่วยป้องกันอาการฟันผุ
ชุดทดสอบฟอสเฟต
ชุดทดสอบฟอสเฟต
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.025-3 พีพีเอ็มฟอสฟอรัส (มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 10 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 1 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท : ยังไม่มีการกำหนด
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน : ยังไม่มีการกำหนด
ที่มาและผลกระทบของฟอสเฟตในน้ำ
ฟอสเฟตเป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ เช่นเดียวกับไนเตรทถ้ามีปริมาณมากจะส่งผลต่อระบบสิ่งแวดล้อม ทำให้วัชพืชน้ำเติบโตเร็ว และช่วยในการเจริญเติบโตของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินซึ่งหากบริโภคน้ำที่มีสาหร่ายเหล่านี้จะมีผลเสียต่อสุขภาพ ส่วนมากจะมาจากการปล่อยน้ำเสีย น้ำซักล้างลงแหล่งน้ำ ในแม่น้ำโดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ในช่วง 0.01-0.1 พีพีเอ็มฟอสฟอรัส (มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร)
วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบไนไตรท์
ชุดทดสอบไนไตรท์
คุณลักษณะของชุดทดสอบไนไตรท์
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.01-2.0 พีพีเอ็มไนโตรเจน (มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 1 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 1 นาที
การนำไปใช้
ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของไนไตรท์ กรณีนำไปใช้กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
ค่ามาตรฐาน 3 มิลลิกรัมไนไตรท์ต่อลิตร สำหรับการบริโภคในระยะสั้น ค่ามาตรฐาน 0.2 มิลลิกรัมไนไตรท์ต่อลิตร สำหรับการบริโภคในระยะยาว (WHO,2003)
ที่มาและผลกระทบของไนไตรท์ในน้ำ
ในแหล่งน้ำธรรมชาติมักจะมีไนไตรท์ในปริมาณที่ต่ำอยู่แล้วผลกระทบโดยทั่วไปมักจะคิดเป็นปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่มาจากทั้งแอมโมเนีย ไนเตรทและไนไตรท์ เนื่องจากไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของโปรตีนจึงไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ไนไตรท์สามารถยับยั้งการขนถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายทำให้หายใจขัดและผิวหนังมีจ้ำสีน้ำเงิน
วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบไนเตรท
ชุดทดสอบไนเตรท
คุณลักษณะของชุดทดสอบ
ช่วงที่ใช้ทดสอบ : 0.5-50 พีพีเอ็ม ไนโตรเจน (มิลลิกรัมไนโตรเจน/ลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง : 2.5 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ : 2-3 นาที
การนำไปใช้ : ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล กรณีนำไปใช้
กับตัวอย่างชนิดอื่นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 4.0 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524)
เกณฑ์อนุโลมสูงสุด 45 มิลลิกรัมไนเตรทต่อลิตร (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2521)
ค่ามาตรฐาน 50 มิลลิกรัมไนเตรทต่อลิตร (WHO, 2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน
5.0 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8,2537)
ที่มาและผลกระทบของไนเตรทในน้ำ
ไนเตรทเป็นองค์ประกอบหลักของปุ๋ย ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ถ้ามีปริมาณมากในแหล่งน้ำจะทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตมากเกินไป และส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำลดลง
ชุดทดสอบซัลไฟด์
ชุดทดสอบซัลไฟด์
คุณลักษณะของชุดทดสอบซัลไฟด์
ช่วงที่ใช้ทดสอบ 50-1,000 พีพีบี (ไมโครกรัม/ลิตร)
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง 20 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ 10 นาที
การนำไปใช้ ใช้ในการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของน้ำในแหล่งต่าง ๆ
และน้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท : ยังไม่มีกำหนด
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน : ยังไม่มีกำหนด
ที่มาและผลกระทบของซัลไฟด์ในน้ำ
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นตัวบ่งชี้ถึงความเน่าเสียของน้ำ มีกลิ่นเหม็น ควันแก๊สไข่เน่า เกิดจากการย่อยสลายของแบคทีเรีย และการปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีผลเสียต่อสุขภาพเพราะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและคลื่นไส้ เราจะได้กลิ่น เมื่อมีความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์ ตั้งแต่ 0.05-0.1 พีพีเอ็ม ขึ้นไป
วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบออกซิเจนละลายในน้ำ
ชุดทดสอบออกซิเจนละลายในน้ำ (Dissolved Oxygen Test kit)
คุณลักษณะของชุดทดสอบออกซิเจนละลาย
ช่วงที่ใช้ทดสอบ 1-8 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
ปริมาณน้ำตัวอย่าง 20 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ 1 นาที
การนำไปใช้ ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน : 2-6 มิลลิกรัมต่อลิตร ขึ้นกับประเภทของแหล่งน้ำ (ประกาศ
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8,2537)
ดัชนี เกณฑ์อนุโลมให้ต่ำสุด (mg/l)
แหล่งน้ำอยู่ในภาวะย่ำแย่ < 5-6
ภายใน 1-4 วัน จะทำให้สัตว์น้ำตาย < 2
สำหรับสัตว์น้ำ
ปลาน้ำอุ่น 5.0
ปลาน้ำเย็น 6.0
ฤดูวางไข่ 7.0
สิ่งมีชีวิตปากแม่น้ำ,ปากอ่าว 5.0
ที่มาและผลกระทบของออกซิเจนละลายในน้ำ : ออกซิเจนละลายเป็นค่าที่บอกถึงปริมาณออกซิเจน ที่ละลายอยู่ในน้ำ เป็นดัชนีโดยตรงที่บอกคุณภาพของน้ำ เพราะออกซิเจนมีความจำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต
ชุดทดสอบความเป็นกรด-ด่าง
ชุดทดสอบความเป็นกรด-ด่าง (pH Test kit)
คุณลักษณะของชุดทดสอบความเป็นกรด-ด่าง
ช่วงที่ใช้ทดสอบ pH 3.0-9.0
ปริมาตรน้ำตัวอย่าง 0.5 มิลลิลิตร
เวลาในการทดสอบ 30 วินาที
การนำไปใช้ ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ (น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาล)
มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท : เกณฑ์อนุโลมสูงสุด pH 6.5-8.5 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524) เกณฑ์อนุโลมสูงสุด pH ไม่เกิน 9.2 (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2521) ค่ามาตรฐาน pH 6.5-9.5 (WHO,2003)
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน : pH 5-9 (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8,2537)
ที่มาและผลกระทบของค่าความเป็นกรด-ด่างในน้ำ : น้ำธรรมชาติปกติมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 6.5-7.5 ส่วนน้ำทิ้งมักมีความเป็นกรดน้อยกว่าหรือมากกว่า ค่า pH มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต จึงต้องควบคุมให้คงที่หรือควบคุมให้อยู่ในช่วงที่กำหนด
วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553
หยดทิพย์ ปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค ว 101
หยดทิพย์หรือคลอรีน 2% ปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค ว 101/อ 32
ประกอบด้วย : คลอรีน 2%
คุณสมบัติ : ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
วิธีใช้ : ใช้หลอดหยดดูดสารละลายหยดทิพย์ แล้วหยดใส่น้ำที่ต้องการฆ่าเชื้อโรค ในอัตราส่วน
หยดทิพย์ 1 หยด ต่อ น้ำ 1 ลิตร
หมายเหตุ : การหยดสารละลายหยดทิพย์ในน้ำที่ต้องการฆ่าเชื้อโรค น้ำต้องไม่มีความขุ่น
ถ้าน้ำที่ต้องการฆ่าเชื้อโรคมีความขุ่น ต้องตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนหรือกรองแล้ว นำ
เฉพาะส่วนใสมาฆ่าเชื้อโรคด้วยหยดทิพย์
หลอดหยด หลังใช้งานแล้วต้องทำให้สะอาดก่อนเก็บใส่ถุง
สามารถตรวจค่าคลอรีนอิสระคงเหลือด้วยชุด ว 720 หลังใส่หยดทิพย์แล้วประมาณ 30 นาที
ชุดตรวจเชื้อแบคทีเรีย ว 810/อ 12 (ซัลโมเนลลา)
ชุดตรวจเชื้อแบคทีเรีย ว 810/อ 12 (ซัลโมเนลลา) ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภคโดยชุมชน
แบคทีเรียหลายชนิด เช่น ซิโทรแบคเทอร์ (Citrobacter) ซัลโมเนลลา (Salmonella) อริโซนา (Arizona) และโปรเตียส (Proteus) สามารถผลิตแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ได้ในอาหารและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม แบคทีเรียเหล่านี้มักพบได้ในน้ำเสียและเป็นสาเหตุของการก่อโรคระบบทางเดินอาหาร ทั้งในคนและสัตว์ ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดคุณภาพนน้ำบริโภคต้องไม่พลเชื้อโรคที่อาจเป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
อาหารตรวจเชื้อแบคทีเรีย ว 810 (อาหารถูกดูดซับอยู่ในม้วนสำลี) ซึ่งคิดค้นและผลิตโดยกรมอนามัยและสามารถดำเนินการตรวจสอบโดยประชาชนทั่วไปด้วยวิธีการปลอดเชื้อที่เหมาะสม เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภคก่อนนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัย การตรวจสอบด้วยอาหารตรวจเชื้อ ว 810 เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติ โดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของอาหารตรวจเชื้อ ว 810 จากสีเหลืองอ่อนใสเป็นสีดำ มีตะกอนดำเกิดขึ้นพร้อมมีฟองแก๊สปุดขึ้นเมื่อเขย่าเบาๆ และมีกลิ่นแก๊สไข่เน่า
จากการศึกษาวิจัยพบว่า การตรวจสอบด้วยอาหารตรวจเชื้อ ว 810 ตามขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบที่ถูกต้องหรือตามขั้นตอนคู่มือแสดงการตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภคทางแบคทีเรียด้วยอาหารตรวจเชื้อ ว 810 พบว่ามีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี Multiple-Tube Fermentation Technique ไม่น้อยกว่า 85.2%
ประโยชน์ของชุดตรวจเชื้อแบคทีเรีย ว 810
ใช้ตรวจเชื้อแบคทีเรียที่ผลิตแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ในอาหารที่เหมาะสม เช่น ซิโทรแบคเทอร์ ซัลโมเนลลา อริโซนาและโปรเตียสที่ปนเปื้อนในน้ำบริโภค น้ำแข็ง อาหารและสุขลักษณะของห้องส้วม เพื่อการเฝ้าระวังเชื้อโรค
จำนวนตัวอย่าง/ชุด : 20 ตัวอย่าง
การเก็บรักษาและอายุการใช้งาน
* ถ้าเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 ถึง 10 องศา จะมีอายุการใช้งานประมาณ 12 เดือน หลังการผลิต
* ถ้าเก็บในกล่องบรรจุที่แห้งและที่อุณหภูมิห้องจะมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน หลังการผลิต
วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย อ 11 /ว 111
ชุดทดสอบตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย อ 11/ว 111 ตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภคโดยประชาชน
Simplified Technique for Field Detection of Coliform Bacteria in Drinking Water Using
ตามเกณฑ์เสนอแนะขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดคุณภาพน้ำบริโภคต้องไม่พบโคลิฟอร์มแบคทีเรียเนื่องจากแบคทีเรีย ดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ถึงการปนเปื้อนของแบคทีเรียที่อาจเป็ฯสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
จากการศึกษาพบว่าชุดทดสอบนี้ มีความน่าเชื่อถือ โดยสอดคล้องกับการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี Multiple-Tube Fermentation Technique ไม่น้อยกว่า 84.5%
จำนวนชุดทดสอบ : 20 ตัวอย่าง
ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ ว 720/อ 31
ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ ว 720/อ 31
น้ำมีความสำคัญต่อชีวิตคนควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 2.5 ลิตร ซึ่งการทำให้น้ำสะอาด ปราศจากเชื้อโรคสามารถใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค สามารถใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำ การเติมคลอรีนในน้ำดื่มเพื่อฆ่าเชื้อโรค ต้องเติมในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อโรค และไม่มีกลิ่นฉุน เพื่อการยอมรับของผู้บริโภค
การทดสอบปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำสามารถใช้ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำสามารถใช้ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ (ว720) ซึ่งคิดค้นรูปแบบโดยกรมอนามัน เป็นวิธีการทดสอบที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว โดยการอ่านค่าของคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ จากการเปรียบเทียบสีกับสีมาตรฐานของชุด ว 720 ซึ่งอาศัยการเกิดสีของคลอรีนอิสระคงเหลือตามวิธีมาตรฐานของ Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, 12th ed.
จากการศึกษาวิจัยพบว่า การทดสอบคลอรีน อิสระคงเหลือในน้ำด้วยชุด ว720 ตามขั้นตอนและวิธีการทดสอบที่ถูกต้องมีความน่าเชื่อถือซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) 0.9786
จำนวนต้วอย่าง/ชุด : 50 ต้วอย่าง
ช่วงการตรวจสอบ : 3 ระดับความเข้มข้นใน 1 ชุดได้แก่ 0.2, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
อายุและการเก็บรักษา : 1 ปี เก็บในอุณหภูมิห้อง ไม่โดนแสงแดด
ชุดตรวจสอบอาหารตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย
SI-Medium ชุดตรวจสอบอาหารตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI2/อ 13
การตรวจสอบการปนเปื้อนภาชนะสัมผัสอาหาร มือผู้สัมผัสอาหารและอาหาร
ภาชนะใส่อาหาร เขียง จาน ภาชนะสัมผัสอาหาร เช่น ช้อน ส้อม ตะเกียบ ถ้วยน้ำ อาหาร และมือผู้สัมผัสอาหาร ถ้ามีเชื้อโรคปะปนอยู่จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารหรือ โรคอาหารเป็นพิษ การตรวจสอบการปนเปื้อนดังกล่าวโดยชุดตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-Medium ทางภาคสนามที่คิดค้นโดยกรมอนามัย เป็นชุดตรวจสอบอย่างง่ายต่อการปฏิบัติสามารถทราบผลได้ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง
ประโยชน์ของชุดตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-Medium
ใช้ตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนในภาชนะสัมผัสอาหาร มือผู้สัมผัสอาหาร และอาหารโดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของอาหารตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย Simedium จากสีม่วงเป็นสีอื่นเช่น สีม่วงปนเหลือง สีเหลือง มีความขุ่นและมีฟองแก๊สปุดขึ้นเมื่อเขย่าเบา ๆ และมีกลิ่นเหม็นบูด ใช้ตรวจสอบเพื่อการเฝ้าระวังและลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
จำนวนตัวอย่าง : 20 ตัวอย่าง / ชุด
การเก็บรักษาและอายุการใช้งาน
- ถ้าเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 ถึง 10 องศาเซลเซียส จะมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน
- ถ้าเก็บในกล่องบรรจุที่แห้งและที่อุณหภูมิห้องจะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 เดือน
ชุดตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค (ว 314)
ชุดตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ว 314/อ 35
น้ำที่สะอาดมีความสำคัญต่อชีวิต แต่น้ำที่มีปริมาณฟลูออไรด์เกินมาตรฐานและบริโภคเป็นประจำ จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย เพราะการได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปและสะสมในระยะเวลานานจะทำให้เกิดโรคฟลูออโรซิสได้แก่ฟันตกกระและกระดูกโค้งงอผิดปกติ ปัจจุบันตรวจพบพื้นที่หลายแห่งพบการปนเปื้อนฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคที่มาจากน้ำใต้ดินในระดับที่สูงขึ้น กรมอนามัยจึงคิดค้นและผลิตชุดตรวจสอบความเข้มข้นฟลูออไรด์ทางภาคสนาม
ประโยชน์ของชุดตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค (ว 314)
ใช้ตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ซึ่งให้ผลในทันทีสามารถดำเนินการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่และชุมชนในท้องถิ่น มีวิธีการตรวจสอบง่าย สะดวก มีความถูกต้องน่าเชื่อถือและราคาประหยัด ตรวจสอบโดยการอ่านค่าของปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำจากการเปรียบเทียบสีกับมาตรฐานของชุดตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคทางภาคสนาม (ว 314)
จากการศึกษาวิจัย พบว่าการตรวจสอบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคด้วยชุด ว 314 ตามขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบที่ถูกต้องมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) 0.8913
ตัวอย่างเป้าหมาย : น้ำบริโภค
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้ / ชุด : 50 ตัวอย่าง
ช่วงการตรวจสอบ : 4 ระดับความเข้มข้น ได้แก่ 0.0, 0.2, 0.7 และ 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
ชุดตรวจสอบค่าออกซิเจนละลายในน้ำ
ชุดตรวจสอบค่าออกซิเจนละลายในน้ำโดยชุมชน DO ว 312/อ 33
ปริมาณค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำการตรวจค่าออกซิเจนละลา
ในน้ำ (Dissolved oxygen = DO) สามารถตรวจได้หลายวิธี การตรวจโดยใช้ชุด ว312 เป็นวิธีประยุกต์ที่ประชาชนในชุมชนสามารถนำไปใช้ได้ง่าย ตามหลักการของเอไซด์โมดิฟิเคชั่น โดยการเติมแมงกานีสซัลเฟต อัลคาไลด์ไอโอไดด์เอไซด์ และ กรดซัลฟูริกจากหลอดที่เตรียมให้ตามชนิดและปริมาตรที่กำหนดลงในน้ำตัวอย่างตามขั้นตอนแล้วไทเทรตด้วยสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟตและตรวจสอบจุดยุติของปฏิกิริยา (end point) ด้วยน้ำแป้ง ปริมาตรของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ไปเป็นค่า DO ของตัวอย่างน้ำ
จากการศึกษาวิจัยพบว่า การตรวจค่า DO ด้วยชุด ว312 ตามขั้นตอนที่ถูกต้องโดยบุคลากรในภาคสนามพบว่าการตรวจด้งกล่าวให้ความถูกต้องน่าเชื่อถือสอดคล้องกับการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการไม่น้อยว่า 75%
ประโยชน์ของชุดตรวจค่าออกซิเจนละลายในน้ำโดยชุมชน DO-ว 312
ใช้ตรวจสอบค่าออกซิเจนละลายในน้ำ เพื่อบ่งชี้ถึงคุณภาพของน้ำว่ามีความเหมาะสมเพียงใดต่อ การดำรงฃีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ ซึ่งในแหล่งน้ำสะอาดที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีค่า DO ประมาณ 8 มิลลิกรัม ต่อลิตร สามารถตรวจค่าออกซิเจนได้ทันทีและสมารถตรวจได้ด้วยตนเอง
ตัวอย่างเป้าหมาย : แหล่งน้ำน้ำเสียและน้ำทิ้งผ่านระบบบำบัดก่อนปล่อยทิ้งสู่แหล่งธรรมชาติ
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้ / ชุด : 5 ตัวอย่าง
ช่วงการตรวจสอบ : ตรวจได้ตั้งแต่ไม่พบค่าออกซิเจนละลายถึงไม่มากกว่า 10 มิลลิกรัมต่อลิตร
วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบค่าของกรดของน้ำมันปรุงอาหาร
ชุดทดสอบค่าของกรดของน้ำมันปรุงอาหาร
Acid Value of Cooking Oil
หลักการ
น้ำมันปรุงอาหารจะเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างนำมาทอดอาหารหรือเก็บรักษา ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม จะมีผลทำให้น้ำมันปรุงอาหารมีสี กลิ่นรส และความหนืด เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมทั้งเกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผลกระทบต่อสุขภาพ
การบริโภคน้ำมันปรุงอาหารที่เสื่อมคุณภาพทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมันลดลง และได้รับสารพิษต่าง ๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
คุณสมบัติของชุดทดสอบ
ใช้ตรวจสอบค่าของกรดของน้ำมันปรุงอาหารที่มาจากพืชและสัตว์ (คำนวนเป็นค่าของโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม) ใช้เวลาในการทดสอบ 5 นาที ระดับต่ำสุดที่ตรวจสอบได้ 0.2 มิลลิกรัม โปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม
จำนวนตัวอย่าง / ชุด : 15 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 1 ปี
การเก็บรักษา : อุณหภูมิห้อง
ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
หลักการ
น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะเสื่อมสภาพ สี กลิ่น รสชาติ จะเปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังเกิดสารที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น สารโพลาร์ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง หรือสารโพลีไซคลิกอะไรมาติกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้น การใช้น้ำมันที่เสื่อมคุณภาพปรุงอาหารจึงเป็นความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะได้รับอันตรายประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้น้ำมัน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 283 พ.ศ. 2547 กำหนดให้น้ำมันที่ใช้ทอด หรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายมีสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนักหรือไม่เกิน 25%
ประโยชน์ของชุดทดสอบ
ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันปรุงอาหารนอกห้องปฏิบัติการ ให้ผลรวดเร็วภายใน 2-3 นาที การตรวจวิเคราะห์ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง ซึ่งจะทำให้คุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้ / ชุด : 25 ตัวอย่าง
ความไวของชุดทดสอบ : ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 5 กรัม / 100 กรัม (5%)
ประสิทธิภาพของชุดทดสอบ
เปรียบเทียบผลวิเคราะห์ปริมาณสารโพลาร์จากชุดทดสอบเทียบกับวิธีมาตรฐาน IUPAC 2.507 Minicolumn Chromatography ชุดทดสอบให้ความถูกต้อง (accuracy) ร้อยละ 99.2 โดยมีค่าพยากรณ์ปริมาณสารโพลาร์ มากกว่าหรือเท่ากับ 25% ร้อยละ 98.7 ค่าพยากรณ์ปริมาณสารโพลาร์ มากกว่า 25% ร้อยละ 100
ชุดทดสอบปริมาณไอโอดีน ในเกลือบริโภค
ชุดทดสอบปริมาณไอโอดีน ในเกลือบริโภค
Iodine Quantity in Consumed Salt
หลักการ
ไอโอดีนเป็นสารจำเป็นในการเจริญเติบโตของทางกายและสมอง กำหนดให้เกลือบริโภคมีไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมผลกระทบต่อสุขภาพ
ถ้าร่างกายได้รับไอโอดีนในแต่ละวันไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดความต้านทานต่ำหรืออาจเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคปัญญาอ่อน โรคเอ๋อ ฯลฯ
คุณสมบัติของชุดทดสอบ
ใช้ตรวจสอบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคที่มีฉลากแสดงการเสริมไอโอดีนด้วยโพแทสเซียมไอโอเดตใช้เวลาในการทดสอบ 10 นาที ระดับต่ำสุดที่สามารถตรวจได้ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
จำนวนชุด / ตัวอย่าง : 60 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 1 ปี
การเก็บรักษา : อุณหภูมิห้อง (ในห้องทึบแสง)
ชุดทดสอบสีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี
ชุดทดสอบสีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี
Synthetic Color in Food
หลักการ
ในอาหารบางชนิดมีการเจือสีลงไปเพื่อปกปิดความบกพร่องของวัตถุดิบ ทำให้เข้าใจว่าอาหารชนิดนั้นใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ในกลุ่มอาหารที่ห้ามใช้สี 17 ชนิดผลกระทบต่อสุขภาพ
การบริโภคอาหารที่เจือปนสีสังเคราะห์มากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร เกิดการท้องเสีย หากได้รับประจำจะทำให้น้ำหนักตัวลดร่างกายอ่อนเพลีย
อาหารที่มักตรวจพบ
ผักและผลไม้ดอง ปลาเค็ม เนื้อหวาน ไก่ย่าง กะปิ ลูกชิ้น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง น้ำพริก บะหมี่ แผ่นเกี๊ยว
คุณสมบัติของชุดทดสอบ
ใช้ตรวจสีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี เวลาที่ใช้ในการทดสอบ 10 นาที ระดับต่ำสุดที่สามารถตรวจได้ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
จำนวนชุด / ตัวอย่าง : 10 , 20 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 1 ปี
การเก็บรักษา : อุณหภูมิห้อง
ชุดทดสอบความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหาร และ มือ
ชุดทดสอบความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหาร และ มือ
Cleanliness of food-contact articles and hands
หลักการ
ภาชนะใส่อาหารและมือผู้สัมผัสอาหารที่ไม่สะอาดมีเชื้อโรคปะปนอยู่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารหรือโรคอาหารเป็นพิษผลกระทบต่อสุขภาพ
การรับประทานอาหารที่สัมผัสภาชนะและมือที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ ทำให้ผู้บริโภคมีอาการท้องร่วง ท้องเสีย อาเจียน เป็นไข้ ปวดศีรษะ
คุณสมบัติของชุดทดสอบ
ใช้ตรวจสอบเบื้องต้นว่าภาชนะที่ใช้ใส่อาหารหรือมือผู้สัมผัสอาหาร หรืออาหารมีการปนเปื้อนของเชื้อบักเตรีที่อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดเจ็บป่วยหรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ ทราบผลได้ภายใน 1-3 วัน จำนวนเชื้อโคลิฟอร์มต่ำสุด ที่สามารถตรวจได้ 20 เซลล์
จำนวนตัวอย่าง/ ชุด : 5 , 10 , 20 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 6 เดือน
การเก็บรักษา : เก็บไว้ในตู้เย็น 6 เดือน เก็บที่อุณหภูมิห้อง 2 เดือน
วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในอาหาร
ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในอาหาร Coliform in Food
หลักการ
การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด เป็นสาเหตุของโรคทางเดินอาหาร เชื้อโคลิฟอร์มที่ปนเปื้อน ในอาหารเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าอาหารนั้นไม่สะอาดผลกระทบต่อสุขภาพ
อาหารที่ตรวจพบโคลิฟอร์มในอาหารพร้อมบริโภค ใช้เวลาในการทดสอบ 24 ชั่วโมง ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 10 โคโลนี หรือ 10 ตัว ในอาหาร 1 กรัม
จำนวนตัวอย่าง / ชุด : 5 , 30 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 3 เดือน
การเก็บรักษา : ตู้เย็น
วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ชุดทดสอบปริมาณบักเตรีทั้งหมดในอาหาร
ชุดทดสอบปริมาณบักเตรีทั้งหมดในอาหาร
หลักการ
การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด เป็นสาเหตุของโรคทางเดินอาหาร ปริมาณบักเตรีที่ปนเปื้อนในอาหารสามารถบ่งชี้คุณภาพของอาหารได้
ผลกระทบต่อสุขภาพ
อาหารที่ตรวจพบปริมาณบักเตรีทั้งหมดเกินค่ากำหนด อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค อาหารเป็นพิษจะทำให้ผู้บริโภคมีอาการท้องร่วง ท้องเสีย อาเจียน เป็นไข้ ปวดศีรษะ
คุณสมบัติของชุดทดสอบ
ใช้ตรวจสอบเชื้อบักเตรีในอาหารพร้อมบริโภค อาหารพร้อมปรุง ใช้เวลาในการทดสอบ 24 ชั่วโมง จำนวนเชื้อบักเตรีต่ำสุดที่ตรวจสอบได้ 10 โคโลนี หรือ 10 ตัว ในอาหาร 1 กรัม
จำนวนตัวอย่าง / ชุด : 12 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 3 เดือน
การเก็บรักษา : ตู้เย็น
ชุดทดสอบยีสต์และเชื้อราในอาหารและเครื่องดื่ม
ชุดทดสอบยีสต์และเชื้อราในอาหารและเครื่องดื่ม (Yeast and Mold in Food and Beverage)
หลักการ
ยีสต์และเชื้อราบางชนิดทำให้อาหารบูดเสีย และทำให้เกิดโรคกับผู้บริโภคที่รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนยีสต์และเชื้อรา การตรวจสอบการปนเปื้อนของยีสต์และราในอาหารและเครื่องดื่ม ในชุดทดสอบนี้โดยใช้แผ่นทดสอบยีสต์ รา 3 M Pertrifilm(TM) Yeast and Mold Count Plates
คุณสมบัติของชุดทดสอบ
ใช้ตรวจสอบว่าอาหารและเครื่องดื่มมีการปนเปื้อนของยีสต์และเชื้อราเกินมาตรฐานหรือไม่
จำนวนชุด / ตัวอย่าง : 5 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 2 เดือน
การเก็บรักษา : ตู้เย็น
ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิค (สารกันรา) ในอาหาร
ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิค (สารกันรา) ในอาหาร
หลักการ
ผู้จำหน่ายอาหารบางราย มีการนำวัตถุกันเสีย กันรามาใส่ในน้ำยาดองผัก ผลไม้ เพื่อให้ดูใสเหมือนใหม่อยู่เสมอ กรดซาลิซิลิค (สารกันรา) เป็นสารเคมี ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเดิบโตของจุลินทรีย์ได้ดี แต่เป็นอันตรายกับสุขภาพผลกระทบต่อสุขภาพ
ถ้าได้รับกรดซาลิซิลิคจนมีความเข้มข้นในเลือดถึง 25-35 มิลลิกรัม/เลือด 100 มิลลิลิตร จะมีอาการอาเจียน หูอื้อ มีไข้ และอาจถึงตายได้
คุณสมบัติของชุดทดสอบ
สามารถตรวจสอบกรดซาลิซิลิคในอาหารที่สงสัย ใช้เวลาในการทดสอบ 5 นาที ระดับต่ำสุดที่สามารถตรวจได้ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
จำนวนตัวอย่าง / ชุด : 50 ตัวอย่าง
อายุการใช้งาน : 2 ปี
การเก็บรักษา : อุณหภูมิห้อง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)